น่าซื้อมั้ย???
หายใจไม่อิ่ม สัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่อาจเสี่ยงเป็นได้หลายโรค

เคยเป็นกันไหม ? รู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยง่าย หายใจถี่ ๆ และเริ่มมีอาการแน่นตรงหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดขณะหายใจ ส่งผลให้เกิดสภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” และไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้อย่างเต็มที่ บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ หายใจไม่อิ่ม สัญญาณเตือนภัยจากร่างกาย ที่อาจเสี่ยงเป็นได้หลายโรค มาแบ่งปันกัน 

 

ภาวะหายใจไม่อิ่ม คืออะไร 


สภาวะหายใจไม่อิ่ม คืออะไร

 

ภาวะหายใจไม่อิ่ม (Shortness of Breath) หรือศัพท์ทางการแพทย์ เรียกว่า Dyspnea” คือ อาการของผู้ป่วย ที่ไม่สามารถสูดอากาศเข้าไปในปอดได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมีลักษณะอาการหายใจเพียงช่วงลมสั้น ๆ หรือหายใจ ๆ จึงทำให้รู้สึกแน่นหน้าอก และอึดอัดขณะหายใจ ในบางรายอาจรู้สึกเจ็บ จนไม่สามารถนอนราบได้ 

 

sngine_c2b05044f2dde2607a5dfd5ff7cae2d7.jpg
sngine_a5ec6f17943af02622b31c88ef15d1b1.jpg
sngine_d0ac11e60f08fa83273867712c5edf00.jpg
sngine_3459ad3a73bf8ae8752d2f38d4656e82.jpg
sngine_6afd5145836288d9989e5f7eb138f86e.jpg
sngine_4abc03c84f522456374f3aef31922437.jpg
sngine_ad54c80c6999a9a3debd3a4b287f767d.jpg
sngine_286b8426fe0a7a3f07054055b8cd9637.jpg
sngine_cbb27012123e92779ac618b73413e2c5.jpg
sngine_ae0831edb9e5761044711f3d2c0fd9db.jpg

สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ “หายใจไม่อิ่ม” มีอะไรบ้าง 

 

สัญญาณแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญภาวะ ”หายใจไม่อิ่ม”

 

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” มักจะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เคร่งเครียด หรือหักโหมการทำกิจกรรมที่มากเกินไป ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดอาการดังกล่าวเบื้องต้นแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนภัยจากความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น  

  • ภาวะทางเดินหายใจ
    เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคปอดคั่นระหว่างหน้าพังผืดในปอด หลอดลมอักเสบ หรือปอดบวม 
  • ภาวะหัวใจ และหลอดเลือด
    เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  • โรคโลหิตจาง
    ภาวะที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ที่จะนําออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ 
  • มะเร็งปอด
    การเกิดขึ้นของเนื้องอก หรือเนื้อร้ายที่ส่งผลกระทบต่อการหายใจ 
  • วัณโรค
    การติดเชื้อจากไวรัส และแบคทีเรีย ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการอาเจียน และหายใจลำบาก 
  • ความวิตกกังวล เครียด หรือความตื่นตระหนก
    สาเหตุที่อาจทําให้เกิดพฤติกรรมการหายใจอย่างรวดเร็ว หรือรู้สึกหายใจไม่ออก 
  • โรคอ้วน
    น้ําหนักที่เกินมาตรฐาน อาจสามารถสร้างแรงกดต่อปอด และทําให้หายใจลําบากขึ้นได้ 
  • ปฏิกิริยาการแพ้
    เช่น การแพ้สารเคมี หรืออาหารต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ 
  • มลพิษทางอากาศ
    เช่น การสูดดมของสารเคมี และควัน รวมถึงใช้ชีวิตในสภาพอากาศที่มีฝุ่นจัด เป็นต้น 

 

อาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญภาวะ ”หายใจไม่อิ่ม”  

  1. มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น 
  2. สูดหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก 
  3. รู้สึกแน่นหน้าอกขณะหายใจ 
  4. คลื่นไส้ อาเจียน 
  5. หัวใจเต้นแรง ร่างกายสั่น   
  6. เวลาหายใจมีเสียงดังฮืด ๆ 

 

การวินิจฉัยของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” ในปัจจุบัน 

 

การวินิจฉัยของอาการ “หายใจไม่อิ่ม” ในปัจจุบัน

 

โดยทั่วไปแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยอาการ “หายใจไม่อิ่ม” หรือหายใจลำบาก จากการซักถาม และตรวจเช็กประวัติร่างกายเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และหาวิธีในการรักษาที่เหมาะสม ดังนี้ 

1. การสแกนเอกซเรย์ (X-ray)

การใช้รังสีเอกซเรย์สแกนทรวงอกเพื่อประเมินสุขภาพของปอด หัวใจ และระบบร่างกายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

2. การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เป็นการใช้เครื่องตรวจพิเศษที่จะทำการยิงลำแสง X-ray ออกมาในหลายทิศทางพร้อม  กัน โดยใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลของร่างกายเพื่อสร้างออกมาเป็นภาพ 2D และ 3D ที่แสดงข้อมูลได้อย่างละเอียด 

3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography)

เป็นการตรวจเบื้องต้น และคัดกรองโรคหัวใจ ที่จะแสดงอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น

4. การตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) 

การตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้า และออกจากปอดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Spirometer ที่สามารถช่วยระบุขอบเขตของปัญหาการหายใจของแต่ละบุคคลได้

 

การรักษาอาการภาวะ “หายใจไม่อิ่ม” มีอะไรบ้าง

ในการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดูสาเหตุ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวของผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ เนื่องจากอาการ “หายใจไม่อิ่ม” หรือการหายใจไม่เต็มปอด มักจะเกิดได้จาก 2  ปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

 

1. ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากการใช้ชีวิตประจำวัน 

 

ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากการใช้ชีวิตประจำวัน

 

เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย หักโหมใช้แรงมากเกินไป มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้สภาพร่างกายได้เริ่มฟื้นฟู ผ่อนคลาย และมีสุขภาพที่ดีมากขึ้น 

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากสาเหตุของโรค

 

ผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่มจากสาเหตุของโรค

 

ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด, วัณโรค, ปอด, หัวใจ, และโรคอ้วน ฯลฯ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ จากสภาพอากาศที่ก่อให้เกิดอาการหายไม่อิ่ม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนทางการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างสะดวกได้ดีขึ้น เช่น การจัดยา การบำบัด การผ่าตัด เป็นต้น 

 

วิธีป้องกันอาการ “หายใจไม่อิ่ม”  

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  
  2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมมากเกินไป 
  4. หากิจกรรมยามว่าง เพื่อผ่อนคลายความเครียด 
  5. งดสูบบุหรี่  
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ เช่น ฝุ่น ควัน

 

ที่มา: 

บทความอาการหายใจลำบาก สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Shortness of Breath จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประเทศอังกฤษ  

Everything You Need to Know About Dyspnea จาก Healthline  

Dyspnea จาก Clevelandclinic 

What is dyspnea ? จาก Medicalnewstoday 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

 
หายใจไม่เต็มปอด วิธีแก้ pantip,
 
หายใจไม่เต็มปอด เหนื่อย วิธีแก้,
 
อาการหายใจไม่เต็มปอด หาวบ่อย,
 
หายใจไม่อิ่ม,
 
อาการแน่นอก หายใจไม่สะดวก เกิดจาก,
 
หายใจไม่เต็มปอด หาวบ่อย วิธีแก้,
 
เครียด หายใจไม่อิ่ม,
 
อาการแน่นอก หายใจไม่สะดวก วิธีแก้
All Pharma See